บริษัท เอ็น9-ไพล์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด

รถปั๊มคอนกรีต ในประเทศไทยเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศในปี พ.ศ. 2522 โดยมีการนำปั๊มคอนกรีตเข้ามาใช้ในงานก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น งานสร้างเขื่อน แต่ในช่วงนั้นยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก ทั้งนี้เพราะราคาของปั๊มคอนกรีตและค่าใช้จ่ายในการปั๊มสูง รวมทั้งขาดผู้ชำนาญ ในการปั๊มคอนกรีตด้วย ในปี พ.ศ. 2522 ประเทศไทยมีปั๊มคอนกรีตอยู่เพียง 16 เครื่อง เป็นแบบติดตั้งติดตั้งบนรถบรรทุก (TRUCK MOUNTED CONCRETE PUMP) 7 เครื่องที่เหลือเป็นแบบติดตั้งอยู่กับที่ (STATIONARY CONCRETE PUMP) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นของผู้รับเหมารายใหญ่เท่านั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา ปั๊มคอนกรีตได้ถูกใช้ในงานก่อสร้างมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการก่อสร้างอาคารสูง ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น
1. ได้มีการพัฒนาส่วนผสมคอนกรีตให้เหมาะกับงานปั๊มคอนกรีตมากขึ้น
2. มีการนำน้ำยาผสมคอนกรีตที่ช่วยทำให้คอนกรีตลื่น และคอนกรีตแข็งตัวช้ามาใช้ ทำให้สะดวกมากขึ้นในการใช้ปั๊ม
3. มีผู้ชำนาญในการใช้ปั๊มคอนกรีตมากขึ้น
4. ความต้องการให้การก่อสร้างเสร็จภายในระยะเวลาอันสั้น
5. อัตราค่าแรงสูงมากขึ้นรวมทั้งบุคลากรหายากขึ้น

ประเภทของรถปั๊มคอนกรีต
ปั๊มลาก (Trailer Pump)
ปั๊มคอนกรีตประเภทนี้ ตัวปั๊มและท่อส่งจะถูกแยกออกจากกัน ตัวปั๊มติดตั้งอยู่บนล้อเลื่อน เมื่อต้องการใช้งานรถบรรทุกจะพ่วงตัวปั๊มนี้ไป สู่หน้างานก่อสร้างหลังจากนั้น จะติดตั้งท่อและอุปกรณ์เข้ากับปั๊ม ปั๊มคอนกรีตแบบนี้มีแรงดันสูงมาก สามารถปั๊มคอนกรีตไปยังที่สูง ๆ ได้ รวมทั้งพื้นที่ในการติดตั้งน้อย แต่ต้องเสียเวลาในการติดตั้งท่อ และการเคลื่อนย้ายปั๊มทำได้ลำบาก
ปั๊มโมลี / ไลน์ปั๊ม (Moli Pump / Line Pump)
ปั๊มคอนกรีตชนิดนี้ คือการนำเอาปั๊มลากมาดัดแปลง และนำไปติดตั้งอยู่บนรถบรรทุก 6 ล้อ หรือ 10 ล้อ โดยมีจุดบรรทุกไว้วางท่อส่งคอนกรีตและอุปกรณ์เครื่องมือการทำงานต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการเดินทาง

ปั๊มบูม (Boom Pump)
ปั๊มคอนกรีตแบบนี้ทั้งตัวปั๊มและท่อส่ง จะถูก ติดตั้งอย่างถาวรบนรถบรรทุก โดยมีการออกแบบให้สามารถพับเก็บบูมได้ ทำให้สะดวกรวดเร็วในการใช้งาน เคลื่อนย้ายได้สะดวก และทำความสะอาดหลังการใช้งานได้ง่าย อย่างไรก็ตามระยะทางที่จะปั๊มคอนกรีต จะถูกจำกัดโดยความยาวของบูม ตามขนาดต่าง ๆ

ข้อควรปฎิบัติของผู้ใช้รถปั๊มคอนกรีต
ศูนย์จัดส่งคอนกรีต
1. เมื่อต้องใช้ปั๊มคอนกรีตต้องระบุและสั่งคอนกรีตสำหรับใช้กับปั๊มคอนกรีต
2. ต้องกำชับผู้ควบคุมเครื่องชั่งว่า คอนกรีตนั้นใช้กับปั๊มคอนกรีต และรู้ส่วนผสมที่ถูกต้อง
3. ก่อนเริ่มจัดส่งคอนกรีตต้องตรวจสอบกับหน่วยงาน ก่อสร้างว่าติดตั้งปั๊มคอนกรีตและเดินท่อส่งคอนกรีตเรียบร้อยและพร้อมที่จะ เทหรือยัง
4. ต้องรู้จำนวนที่เทล่วงหน้า เพื่อเตรียมวัตถุดิบ
5. จัดรถโม่ให้เพียงพอ เพื่อการจัดส่งได้ต่อเนื่อง

 

ราคารถปั๊มคอนกรีต
ลำดับ รายการ ปริมาณคอนกรีตขั้นต่ำ (ลบ.ม.) ราคา (บาท) ส่วนเกิน (บาท) ราคาต่อท่อ (บาท/เมตร)
1 รถปั๊มบูม 26 เมตร 50 11,000 170 30
2 รถปั๊มบูม 32 เมตร 50 11,500 180 30
3 รถปั๊มบูม 33 เมตร 50 11,500 180 30
4 รถปั๊มบูม 36 เมตร 50 12,500 190 30
5 รถปั๊มบูม 38 เมตร 50 13,500 200 30
6 รถปั๊มบูม 40 เมตร 50 15,000 210 30
7 รถปั๊มบูม 42 เมตร 50 17,000 240 30
8 รถปั๊มบูม 43 เมตร 50 19,000 240 30
9 รถปั๊มบูม 47 เมตร 50 21,000 270 30
10 รถปั๊มลาก 50 11,500 170 30
รถปั๊มบูม ค่าต่อท่อฟรี 30 เมตรแรก / รถปั๊มลาก ค่าต่อท่อฟรี 30 เมตรแรก

 

รถปั๊มคอนกรีต

Tags: รถปั๊มคอนกรีต, บริการรถปั๊มคอนกรีต, บริการเช่ารถปั๊มคอนกรีต, รถปั๊มคอนกรีตรถเล็ก, รถปั๊มคอนกรีตรถใหญ่, Concrete pump truck | โทร: 02-3010150, 081-6416780 (คุณเอ)